บัตรทอง ได้ไปต่อ ประชาชนเฮ รับการดูแลได้ทุกรพ.
หลังจากที่เป็นประเด็นถกกันมาได้พักใหญ่สำหรับการยกเลิกบัตรทองหรือไปต่อในรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับบุคลากรทางการแพทย์และเรื่องของสาธารณะสุขเท่าที่ควรจนเป็นที่ค้านสายตาประชาชนถึงการเข้าถึงการรักษาขั้นพื้นฐานที่รัฐควรตอบสนองให้กับพลเมือง มาถึงวันนี้ได้ข้อสรุปจากนายอนุทิน รมต.กระทรวงสาธารณะสุขแล้ว ว่าบัตรทอง ไฟเขียว ไปต่อได้ โดยมีรายละเอียด 4 ข้อดังนี้
อนุทิน
ยิ้มแย้มแจ่มใสในการแถลงการณ์
1.ประชาชนเจ็บป่วยไปรับบริการกับหมอประจำครอบครัวในหน่วยบริการปฐมภูมิทุกที่ในระบบบัตรทอง ตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ โดยเป็นการเริ่มที่บริการระดับปฐมภูมิ เบื้องต้นนำร่องในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งภาพรวมโครงสร้างของระบบบริการมีความพร้อมที่จะเดินหน้าได้ โดย สธ. และกรุงเทพมหานคร (กทม.) จะขยายเครือข่ายบริการปฐมภูมิเพื่อรองรับ มีการเชื่อมต่อข้อมูลคลินิกหมอครอบครัวและผู้เข้ารักษาเพิ่มเติม จัดทำระบบตรวจสอบสิทธิผ่านแอพพลิเคชั่น และมีระบบยืนยันตัวตนประชาชนในการรับบริการผ่านบัตรประชาชน ทั้งนี้จะเริ่มต้นได้ในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ รัฐมนตรีว่าการ สธ. กล่าว
สิทธิ์บัตรทองยังคงอยู่
2.ผู้เข้ารักษาในไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัว เดิมผู้ใช้สิทธิบัตรทองที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล (รพ.) มีส่วนหนึ่งต้องนอนรักษาต่อเนื่องด้วยสาเหตุทางการรักษา ซึ่งในกรณีที่ใบส่งตัวครบกำหนด ในการใช้สิทธิบัตรทองต่อเนื่อง ผู้เข้ารักษาหรือญาติต้องกลับไปยังหน่วยบริการประจำเพื่อขอใบส่งตัวใหม่ เกิดความไม่สะดวกและเป็นปัญหา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ต่างจังหวัด ดังนั้นเพื่ออำนวยความสะดวกดูแลในกรณีนี้ สปสช.ได้ปรับระบบให้ผู้ป่วยในสามารถรักษาต่อเนื่องได้ทันทีตามการวินิจฉัยของแพทย์โดยไม่ต้องใบส่งตัว ใช้เพียงบัตรประชาชนตรวจสอบตัวตนผู้เข้ารักษา ซึ่งจะนำร่องในพื้นที่เขต 9 นครราชสีมา เริ่มวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ ส่วนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะเริ่มวันที่ 1 มกราคม 2564 ก่อนขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ ต่อไป
นั่งฟังแถลงการณ์ร่วม
3.โรคมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้ที่พร้อม โรคมะเร็งเป็นภาวะเจ็บป่วยที่ต้องรับการรักษาโดยเร็ว เพื่อไม่ให้อาการลุกลามและมะเร็งบางชนิดยังเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้ แต่ด้วยขั้นตอนการส่งตัวผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง บางครั้งอาจเป็นอุปสรรคทำให้ผู้ป่วยมะเร็งไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้โดยเร็ว
ดังนั้น สปสช. ได้ปรับระบบการดูแลผู้ป่วยกลุ่มที่ถูกวินิจฉัยแล้วว่าเป็นมะเร็งจะได้ใบรับรองและประวัติ หรือโค้ดเพื่อเลือกไปรับบริการที่อื่นผ่าน 3 ช่องทาง คือ สายด่วน สปสช.1330 แอพพ์ฯ สปสช. และติดต่อที่หน่วยบริการโดยตรง เฉพาะที่โรงพยาบาลรักษามะเร็งที่มีความพร้อมเข้าร่วม ให้บริการตามโปรโตคอลรักษามะเร็ง บริการระบบสาธารณสุขทางไกล (Telehealth) บริการปรึกษาเภสัชกรทางไกล (Tele pharmacy) และการให้ยาเคมีบำบัดที่บ้าน (Home Chemotherapy) โดยค่าบริการให้ส่งข้อมูลเบิกจ่ายมายัง สปสช. ซึ่งได้มีการออกแบบการบริหารจัดการไว้แล้ว ทั้งนี้จะเริ่มในโรงพยาบาลที่มีความพร้อมทั่วประเทศ ในวันที่ 1 มกราคม 2564
ชาวบ้านมีเฮ ได้สิทธิ์รักษาฟรีขั้นพื้นฐานต่อไป
4.ย้ายหน่วยบริการได้สิทธิทันที ไม่ต้องรอ 15 วัน เป็นปัญหาที่ประชาชนเรียกร้องมาระยะหนึ่ง ด้วยติดขัดการเข้ารับรักษาในช่วงของการเปลี่ยนหน่วยบริการที่ตามระบบกำหนดให้ต้องรอ 15 วัน แต่ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาก้าวหน้า โดยเฉพาะการเชื่อมต่อข้อมูลไปยังหน่วยบริการ ทำให้ สปสช. สามารถปรับระบบแก้ปัญหาช่องว่างนี้ได้ ประชาชนสามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการใหม่ได้ทันทีหลังเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ รวมถึงกรณีที่ประชาชนเปลี่ยนหน่วยบริการเองผ่านแอพพ์ฯ สปสช. โดยหน่วยบริการสามารถพิสูจน์สิทธิและเบิกจ่ายค่าบริการผ่านบัตรประชาชนสมาร์ท การ์ด ทั้งนี้จะเริ่มพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 1 มกราคม 2564
ความแตกต่าง
โดยรายละเอียดเพิ่มเติมในการเข้ารับการดูแลจากแต่ละพื้นที่ เป็นไปตามนโยบายการปกครองส่วนพื้นที่นั้นๆ ประชาชนควรศึกษาข้อมูลด้วยตนเองอีกครั้ง