กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนภัย ฉบับที่3

เป็นอีกข่าวที่กระแสค่อนข้างได้รับการตอบรับจากประชาชนล้นหลามหลังกรมอุตุฯ ประกาศเตือนภั ย พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 6 เมษายน 2564 ) ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 2 เมษายน 2564 ในช่วงวันที่ 3 – 6 เมษายน 2564 ประเทศไทยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้น โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบน จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอั นตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวัง ความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

โดยจะมีผลกระทบดังนี้ วันที่ 3 เมษายน 2564

ภาคเหนือ จังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหารกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น และมหาสารคาม

ภาคกลาง จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี และสิงห์บุรี

ภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ในช่วงวันที่ 4 – 6 เมษายน 2564

ภาคเหนือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเชร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร มหาสารคาม กาฬสินธุ์ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา และบุรีรัมย์

ภาคกลาง จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยาสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และนครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดต่อเนื่องกันหลายวัน

อนึ่ง ในวันที่ 2 เมษายน 2564 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงยังคงปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกระวังอั นตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 3 เมษายน 2564

อย่างไรก็ตาม ขอให้ติดตามประกาศจากกรมอุตุฯ เพื่อเตรียมรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป